พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร
พระราชประวัติรัชกาลที่ 8 แห่งราชวงศ์จักรี พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล(ประสูติ พ.ศ. 2468 ขึ้นครองราชย์ พ.ศ. 2472 - พ.ศ. 2489)มีพระนามเดิมว่า พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอานันทมหิดล
พระราชประวัติ พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล มีพระนามเดิมว่า พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอานันทมหิดล ทรงพระราชสมภพ เมื่อวันอาทิตย์ที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2468 ตรงกับวันขึ้น 3 คํ่า เดือน 11 ปีฉลู ณ เมืองไฮเดลแบร์ก ประเทศเยอรมันนี ทรงเป็นพระราชโอรสองค์ที่ 2 ของสมเด็จพระราชบิดาเจ้าฟ้ามหิดลอดุลยเดช กรมหลวงสงขลานครินทร์ และสมเด็จพระราชชนนีศรีสังวาลย์ ทรงมีพระพี่นางและพระอนุชาร่วมสมเด็จพระราชบิดาและสมเด็จพระราชชนนีเดียวกันคือ 1. สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา2. สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภูมิพลอดุลยเดช พ.ศ. 2472 สมเด็จพระราชบิดา เจ้าฟ้ามหิดลอดุลยเดชกรมหลวงสงขลานครินทร์เสด็จทิวงคต พ.ศ. 2474 พระองค์ได้เสด็จไปทรงศึกษาที่โรงเรียนมาแตร์เดอี ถนนเพลินจิต พ.ศ. 2476 เสด็จพระราชดําเนินไปทวีปยุโรป ประทับ ณ เมืองโลซานน์ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ พ.ศ. 2477 ทรงเสด็จขึ้นครองราชย์ เมื่อวันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2477 เนื่องจากพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ไม่มีพระราชโอรสและพระราชธิดาที่จะสืบราชสันตติวงศ์ และด้วยความเห็นชอบของผู้สําเร็จราชการแผ่นดินที่ได้ดําเนินการไปตามกฎมณเฑียรบาล พ.ศ. 2481 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล ได้เสด็จพระราชดําเนินกลับเยี่ยมประเทศไทยพร้อมด้วยสมเด็จพระชนนี สมเด็จพระพี่นางเธอและสมเด็จพระเจ้าน้องเธอ ได้ทรงประประทับอยู่ที่พระตําหนักจิตรลดารโหฐานประมาณ 2 เดือน จึงเสด็จไปประเทศสวิสเซอร์แลนด์ เพื่อเข้าศึกษาวิชานิติศาสตร์ และการปกครองในมหาวิทยาลัยประเทศนั้น พ.ศ. 2488 วันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2488 พระองค์ทรงบรรลุนิติภาวะ จึงเสด็จกลับมาถึงประเทศไทยอีกครั้งหนึ่ง และในวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2488 ได้ทรงประทับอยู่ ณ พระที่นั่งบรมพิมานในพระบรมมหาราชวังผู้สําเร็จราชการแทนคนล่าสุดคือ นายปรีดี พนมยงค์ ได้ถวายพระราชภารกิจแด่พระองค์เพื่อได้ทรงบริหารเต็มที่ตามพระราชอํานาจ
พระราชกรณียกิจที่สำคัญในระหว่างการเสด็จนิวัตประเทศครั้งที่ 2โดยสรุปพระราชกรณียกิจในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล ได้ดังต่อไปนี้· วันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2488 ทรงบำเพ็ญพระราชกุศลทักษิณานุประทานพระอัฐและพระบรมอัฐสมเด็จบุรพมหากษัตริยาธิราช ณ พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย· วันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2488 พระราชทานกระแสพระราชดำรัสทางวิทยุกระจายเสียงแก่ประชาชนชาวไทยเนื่องในโอกาสวันรัฐธรรมนูญ ดังมีพระราชดำรัสบางสวนดังนี้“ในเวลาที่ข้าพเจ้าเล่าเรียนอยู่ที่ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ข้าพเจ้ามีความคิดถึงท่านอยู่เสมอ จึงได้พยายามเล่าเรียนให้ดีที่สุดที่จะทำได้ เพื่อมาอยู่ร่วมมือกับท่านทุกคนในการส่งเสริมความเจริญของบ้านเมืองเรา ท่านทั้งหลายคงเห็นอยู่ว่า แม้ว่าสงครามจะสิ้นสุดลงไปแล้ว คามทุกข์ยากก็ยังมีอยู่ทั่วไปซึ่งรวมถึงบ้านเมืองไทยที่รักของเราด้วย แต่ข้าพเจ้าเชื่อว่า ถ้าคนไทยทุกคนถือว่าตนเป็นเจ้าของชาติบ้านเมือง และต่างปฏิบัติหน้าที่ของตนให้ดีด้วยความซื่อสัตย์สุจริต และถูกต้องตามธรรมนองคลองธรรมแล้ว ความทุกข์ยากของบ้านเมืองก้จะผ่านพ้นไปได้ ข้าพเจ้าจึงขอร้องให้ท่านทุกคนได้ช่วยกันทำหน้าที่ของตนโดยแข้งขัน และขอให้มีความสามัคคีกลมเกลียวกันจริง ๆ เพื่อชาติจะได้ดำรงอยู่ในความวัฒนาการสืบไป……..”
· วันที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2488 พระราชทานเลี้ยงน้ำชาแก่พระบรมวงศานุวงศ์ ณ สวนศิวาลัยในพระบรมมหาราชวัง· วันที่ 28-29 ธันวาคม พ.ศ. 2488 เสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตร การแข่งขันฟุตบอลระหว่างทีมข้าวไทยกับทีมท่าพระจันทร์· วันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2488 – วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2489 เสด็จพระราชดำเนินบำเพ็ญพระราชกุสลในวันขึ้นปีใหม่· วันที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2489 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้กรมแผนที่ทหารบกฉายพระบรมฉายาลักษณ์· วันที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2489 เสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย· วันที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2489 เสด็จพระราชดำเนินวัดเบญจมบพิตร· วันที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2489 เสด็จพระราชดำเนินตรวจพลสวนสนามสหประชาชาติ พร้อมด้วยลอร์ดหลุยส์ เมาท์แบตเตน ณ ท้องสนามหลวงและถนนพระราชดำเนิน· วันที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2489 เสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตร การแข่งขันเทนนิส ณ สโมสรศิษย์เก่าเทพศิรินทร์· วันที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2489 เสด็จแปรพระราชฐาน ณ พระราชวังสวนไกลกังวล· วันที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2489 เสด็จนิวัตกลับพระนคร ทรงเสด็จมนัสการพระปฐมเจดีย์ และเสด็จพระราชดำเนินไป ณ ที่ทำการรัฐบาลและได้เสด็จสู่บัลลังก์ศาล จ.นครปฐม· วันที่ 15 มีนาคม พ.ศ 2489 เสด็จทอดพระเนตรเรือดำน้ำและเรือปืนศรีอยุธยาต่อมาไม่ทราบวันที่แน่นอนทรงเสด็จพระราชดำเนินบำเพ็ญพระราชกุศลทักษิณานุประทานอุทิศถวายสมเด็จพระปิยมาวดี ศรีพัชรินทรมาดา ณวัดราชาธิวาส เสด็จพระราชพิธีเททองหล่อพระพุทธรูปพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว· วันที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2489 เสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตร พระราชวังโบราณ จ.พระนครศรีอยุธยา· วันที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2489 เสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตร พระราชวังบางปะอินจ.พระนครศรีอยุธยา· วันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2489 เสด็จพระราชดำเนินประกอบพิธีวันที่ระลึกมหาจักรี ทรงสักการะพระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก· วันที่ 13 เมษายน พ.ศ. 2489 เสด็จพระราชดำเนินพระราชทานปริญญาบัตร ณ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย· วันที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2489 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ แก่ ลอร์ดหลุยส์ เมาท์แบตเตน· วันที่ 22 เมษายน พ.ศ 2489 เสด็จพระราชดำเนินโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์และสถานเสาวภา· วันที่ 23 เมษายน พ.ศ 2489 เสด็จพระราชดำเนินพระราชทานปริญาบัตร ณ มหาวิทยาลัยแพทย์ศาสตร์· วันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2489 ลอร์ด ดินเสิร์น เข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท· วันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ 2489 เสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมกองทัพอากาศ· วันที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2489 เสด็จประพาสเยี่ยมประชาชน ณ จ.นนทบุรี และ จ.ปทุมธานี· วันที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2489 เสด็จพระราชดำเนินทรงลงพระปรมาภิไธยพระราชทานรัฐธรรมนูญแห่งพระราชอาณาจักรไทย ฉบับลงวันที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2489
· วันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2489 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานยศนายร้อยโททหารมหาดเล็กแด่สมเด็จพระราชอนุชา· วันที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2489 เสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมประชาชน จ.สมุทรสาคร· วันที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2489 เสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมกรมทหารราบที่ 1 รักษาพระองค์· วันที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2489 เสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมประชาชน จ.ฉะเชิงเทรา และเสด็จประทับบัลลังก์ ณ ศาล จ.ฉะเชิงเทรา· วันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2489 เสด็จพระราชดำเนินเยี่ยม ร.พัน 1 รอ.
· วันที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2489 เสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมโรงเรียนเทพศิรินทร์ อันเป็นสถานศึกษาเมื่อครั้งทรงพระเยาว์· วันที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2489 เสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมกรมอู่ทหารเรือและทรงขับเรือยามฝั่ง· วันที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2489 เสด็จประพาสสำเพ็ง· วันที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2489 เสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมประชาชน ณ สถานีเกษตรกลางบางเขนและได้ทรงหว่านเมล็ดธัญญาหารทงในแปลงงานสาธิตด้วย (เป็นพระราชกรณียกิจสุดท้าย ก่อนเสด็จสวรรคต)
ด้านพระพุทธศาสนาแม้ว่าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล จะทรงเจริญวัยในดินแดนที่ไม่ได้นับถือพระพุทธศาสนา แต่ก็ทรงได้รับการอบรมให้ซาบซึ้งในพระพุทธศาสนาและความเป็นไทย ทรงใฝ่พระทัยและเลื่อมใสในพระพุทธศาสนาเป็นอย่างดี ทรงแสดงพระองค์เป็นพุทธมามกะตั้งแต่คราวเสด็จนิวัตพระนครครั้งแรก และทรงโปรดที่สนทนาวิสาสะกับพระเถระชั้นผู้ใหญ่ ผู้ทรงคุณธรรมทั้งหลาย และเสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตรวัดสำคัญ ๆ อยู่เสมอ กับทรงตั้งพระราชหฤทัยว่าเมื่อเสด็จกลับไปศึกษาต่ออีกเพียงปีครึ่ง เมื่อทรงสำเร็จการศึกษาแล้วทรงมีพระราชกุศลที่จะทรงผนวชในพระพุทธศาสนาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล ทรงโปรดการเสด็จออกไปเยี่ยมเยียนและทอดพระเนตรทุกข์สุขของพสกนิกรทั้งในกรุงเทพฯและจังหวัดใกล้เคียง ทุกครั้งที่เสด็จจะทรงโปรดให้ประชาชนเข้าเฝ้าโดยใกล้ชิด และทรงมีพระราชดำรัสถามถึงความเป็นอยู่ การทำมาหากินและปัญหาความเดือดร้อนต่าง ๆ ของประชาชนเหล่านั้น และเมื่อวันที่จะเสด็จกลับไปทรงศึกษาต่อ ก็ยิ่งทรงโปรดการเสด็จประพาสเยี่ยมเยียนพสกนิกรในจังหวัดต่าง ๆ มากขึ้น พระราชกรณียกิจครั้งสุดท้ายที่ทรงปฏิบัติ คือทรงหว่านข้าวลงในแปลงนาด้วยพระองค์เอง เพื่อเป็นบำรุงขวัญและเป็นสิริมงคลแก่การทำนาของไทเมื่อคราวเสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมชมกิจการของชาวเกษตรกรกลางบางเขน เมื่อวันที่ 5 มิถุนายน พ.ศ.2489
พระราชกรณียกิจที่สำคัญในระหว่างการเสด็จนิวัตประเทศครั้งที่ 2โดยสรุปพระราชกรณียกิจในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล ได้ดังต่อไปนี้· วันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2488 ทรงบำเพ็ญพระราชกุศลทักษิณานุประทานพระอัฐและพระบรมอัฐสมเด็จบุรพมหากษัตริยาธิราช ณ พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย· วันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2488 พระราชทานกระแสพระราชดำรัสทางวิทยุกระจายเสียงแก่ประชาชนชาวไทยเนื่องในโอกาสวันรัฐธรรมนูญ ดังมีพระราชดำรัสบางสวนดังนี้“ในเวลาที่ข้าพเจ้าเล่าเรียนอยู่ที่ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ข้าพเจ้ามีความคิดถึงท่านอยู่เสมอ จึงได้พยายามเล่าเรียนให้ดีที่สุดที่จะทำได้ เพื่อมาอยู่ร่วมมือกับท่านทุกคนในการส่งเสริมความเจริญของบ้านเมืองเรา ท่านทั้งหลายคงเห็นอยู่ว่า แม้ว่าสงครามจะสิ้นสุดลงไปแล้ว คามทุกข์ยากก็ยังมีอยู่ทั่วไปซึ่งรวมถึงบ้านเมืองไทยที่รักของเราด้วย แต่ข้าพเจ้าเชื่อว่า ถ้าคนไทยทุกคนถือว่าตนเป็นเจ้าของชาติบ้านเมือง และต่างปฏิบัติหน้าที่ของตนให้ดีด้วยความซื่อสัตย์สุจริต และถูกต้องตามธรรมนองคลองธรรมแล้ว ความทุกข์ยากของบ้านเมืองก้จะผ่านพ้นไปได้ ข้าพเจ้าจึงขอร้องให้ท่านทุกคนได้ช่วยกันทำหน้าที่ของตนโดยแข้งขัน และขอให้มีความสามัคคีกลมเกลียวกันจริง ๆ เพื่อชาติจะได้ดำรงอยู่ในความวัฒนาการสืบไป……..”
ด้านพระพุทธศาสนาแม้ว่าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล จะทรงเจริญวัยในดินแดนที่ไม่ได้นับถือพระพุทธศาสนา แต่ก็ทรงได้รับการอบรมให้ซาบซึ้งในพระพุทธศาสนาและความเป็นไทย ทรงใฝ่พระทัยและเลื่อมใสในพระพุทธศาสนาเป็นอย่างดี ทรงแสดงพระองค์เป็นพุทธมามกะตั้งแต่คราวเสด็จนิวัตพระนครครั้งแรก และทรงโปรดที่สนทนาวิสาสะกับพระเถระชั้นผู้ใหญ่ ผู้ทรงคุณธรรมทั้งหลาย และเสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตรวัดสำคัญ ๆ อยู่เสมอ กับทรงตั้งพระราชหฤทัยว่าเมื่อเสด็จกลับไปศึกษาต่ออีกเพียงปีครึ่ง เมื่อทรงสำเร็จการศึกษาแล้วทรงมีพระราชกุศลที่จะทรงผนวชในพระพุทธศาสนาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล ทรงโปรดการเสด็จออกไปเยี่ยมเยียนและทอดพระเนตรทุกข์สุขของพสกนิกรทั้งในกรุงเทพฯและจังหวัดใกล้เคียง ทุกครั้งที่เสด็จจะทรงโปรดให้ประชาชนเข้าเฝ้าโดยใกล้ชิด และทรงมีพระราชดำรัสถามถึงความเป็นอยู่ การทำมาหากินและปัญหาความเดือดร้อนต่าง ๆ ของประชาชนเหล่านั้น และเมื่อวันที่จะเสด็จกลับไปทรงศึกษาต่อ ก็ยิ่งทรงโปรดการเสด็จประพาสเยี่ยมเยียนพสกนิกรในจังหวัดต่าง ๆ มากขึ้น พระราชกรณียกิจครั้งสุดท้ายที่ทรงปฏิบัติ คือทรงหว่านข้าวลงในแปลงนาด้วยพระองค์เอง เพื่อเป็นบำรุงขวัญและเป็นสิริมงคลแก่การทำนาของไทเมื่อคราวเสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมชมกิจการของชาวเกษตรกรกลางบางเขน เมื่อวันที่ 5 มิถุนายน พ.ศ.2489
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น