วันอังคารที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2559



พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว


พระราชประวัติรัชกาลที่ แห่งราชวงศ์จักรีพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว(ประสูติ พ.ศ. 2423 ขึ้นครองราชย์ พ.ศ. 2453 - พ.ศ. 2468)มีพระนามเดิมว่า สมเด็จเจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ
            พระราชประวัติ            พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชสมภพเมื่อ วันเสาร์ที่ มกราคม พ.ศ. 2421 พระองค์ทรงเป็นพระราชโอรสของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี ( สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชเทวี ) เมื่อยังทรงพระเยาว์ทรงพระนามว่า "สมเด็จเจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ" ได้รับสถาปนาเป็นสมเด็จเจ้าฟ้ากรมขุนเทพทวาราวดี ในปี พ.ศ. 2431 และต่อมาในปี พ.ศ. 2437 สมเด็จพระบรมเชษฐาธิราชเจ้าฟ้าชายมหาวชิราวุธ ได้รับสถาปนาเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชสยามมงกุฎราชกุมารดํารงตําแหน่งรัชทายาท พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าฯ จึงได้รับสถาปนาเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชสยามมงกุฎราชกุมาร ดํารงตําแหน่งรัชทายาทแทน


 พระราชกรณียกิจถึงแม้รัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวจะมีระยะสั้นเพียง ๑๕ ปีเท่านั้น แต่ได้ทรงประกอบพระราชกรณียกิจอันเป็นคุณประโยชน์แก่ประเทศและประชาชนชาวไทยหลายด้าน ดังต่อไปนี้ด้านการศึกษาจัดการศึกษาระดับอุดมศึกษา โดยทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ยกฐานะ โรงเรียนข้าราชการพลเรือนฯ ขึ้นเป็นจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในปี .๒๔๕๙ นับเป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกของไทยทรงตราพระราชบัญญัติประถมศึกษา ปีพ.๒๔๖๔ ให้บิดามารดาส่งบุตรเข้าโรงเรียนโดยไม่เสียค่าเล่าเรียนโปรดเกล้าให้จัดตั้งสถาบันการศึกษาหนึ่งและพระราชทานนามว่า โรงเรียนเพาะช่าง ในวันที่  มกราคม ๒๔๕๖พระองค์เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดโรงเรียนเพาะช่างด้วยพระองค์เองด้วยจุดเริ่มต้นนี้ทำให้ประเทศไทยยังมีช่างฝีมือทางศิลปกรรมไทยไว้สืบทอดและสร้างสรรค์สิ่งดีงามจนถึงปัจจุบันด้านสังคมยกเลิกบ่อนการพนัน และ หวย .ซึ่งเป็นอบายมุขมอมเมาประชาชน แม้ว่าจะเป็นแหล่งรายได้สำคัญของรัฐบาลแหล่งหนึ่งก็ตามลดการค้าฝิ่นซึ่งเป็นแหล่งรายได้หลักอีกแหล่งหนึ่งของรัฐบาลตราพระราชบัญญัติขนานนามสกุล .๒๔๕๖ เป็นการเริ่มต้นให้คนไทยมีนามสกุลใช้ โดยได้ทรงพระราชทานนามสกุลแก่ผู้ที่ขอมาด้วยด้านเศรษฐกิจจัดตั้ง ธนาคารออมสินขึ้น เพื่อให้ประชาชนรู้จักออมทรัพย์ และเชื่อมั่นในสถาบันการเงิน เนื่องจากมีธนาคารพาณิชย์เอกชนที่ฉ้อโกง และต้องล้มละลายปิดกิจการ ทำให้ผู้ฝากเงินได้รับความเสียหายอยู่เสมอใช้พระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ซื้อหุ้นของ ธนาคารสยามกัมมาจล ทุนจำกัด(ปัจจุบันคือ ธนาคารไทยพาณิชย์ซึ่งมีปัญหาการเงิน ทำให้ธนาคารของคนไทยแห่งนี้ดำรงอยู่มาได้ทรงริเริ่มตั้ง บริษัทปูนซีเมนต์ไทย จำกัดซึ่งได้เป็นกิจการอุตสาหกรรมสำคัญของไทยต่อเนื่องมาจนปัจจุบันทรงจัดตั้ง สภาเผยแผ่พาณิชย์ ซึ่งเป็นหน่วยงานคล้ายกับสภาพัฒนาการเศรษฐกิจในปัจจุบันโปรดเกล้าฯ ให้จัดเตรียมแสดงสินค้าไทย คืองานสยามรัฐพิพิธภัณฑ์ ที่สวนลุมพินี แต่งานต้องเลิกล้มไปเพราะสวรรคตเสียก่อนด้านการส่งเสริมความเป็นประชาธิปไตยทรงส่งเสริมสิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นและวิพากษ์วิจารณ์ผ่านสื่อมวลชนที่สำคัญ ในยุคนั้นคือหนังสือพิมพ์ซึ่งอาจกล่าวได้ว่ามีเสรีภาพสูงยิ่งกว่าสมัยหลัง .๒๔๗๕ทรงทดลองและฝึกให้ข้าราชบริพารรู้จักการปกครองระบอบประชาธิปไตยโดยทรงสร้างเมืองจำลอง "ดุสิตธานีขึ้นเป็นเมืองที่มีพรรคการเมือง,การเลือกตั้งและการบริหารตามระบอบประชาธิปไตยด้านการแพทย์และสาธารณสุขทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ และวชิรพยาบาล เพื่อรักษาพยาบาลประชาชนที่เจ็บไข้ได้ป่วยทรงเปิดสถานเสาวภา เมื่อวันที่  ธันวาคม .๒๔๖๕ เพื่อผลิตวัคซีนและเซรุ่ม เป็นประโยชน์ทั้งแก่ประชาชนชาวไทยและประเทศใกล้เคียงอีกด้วยทรงเปิดการประปากรุงเทพฯ เมื่อวันที่ ๑๔ พฤศจิกายน .๒๔๕๗ด้านการต่างประเทศเมื่อเกิดมหายุทธสงครามโลกครั้งที่  ขึ้น เมื่อปี .๒๔๕๗ ในตอนต้นของสงคราม ประเทศไทยได้ประกาศตนเป็นกลางแต่ต่อมาพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงมีพระบรมราชโองการประกาศสงครามกับเยอรมนี และออสเตรีย-ฮังการี เมื่อวันที่ ๒๒ กรกฎาคม .๒๔๖๐ เพื่อรักษาสิทธิของประเทศ และเพื่อความเที่ยงธรรมของโลกเป็นส่วนรวม และได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ส่งทหารไทยอาสาสมัครไปร่วมรบในสมรภูมิด้วยการเข้าร่วมสงครามในครั้งนี้เป็นผลดีแก่ประเทศไทยอย่างยิ่ง ในฐานะผู้ชนะสงคราม ประเทศไทยสามารถเจรจากับประเทศมหาอำนาจขอแก้ไขสนธิสัญญาสิทธิสภาพนอกอาณาเขต และ สนธิสัญญาจำกัดอำนาจการเก็บภาษีของประเทศไทย ทำให้ประเทศไทยพ้นสภาพการเสียเปรียบในด้านการศาล และสามารถดำเนินนโยบายด้านภาษีได้โดยอิสระด้านกิจการเสือป่าและลูกเสือทรงจัดตั้งกองเสือป่าขึ้นเมื่อวันที่  พฤษภาคม .๒๔๕๔ โดยมีพระราชประสงค์จะฝึกอบรมข้าราชการให้มีระเบียบวินัย มีความสามัคคี มีน้ำใจเป็นสุภาพบุรุษ ประพฤติตนดี รักชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ เป็นกำลังของชาติในยามคับขันทรงจัดตั้งกอง ลูกเสือขึ้นเมื่อ .๒๔๕๔ เพื่อฝึกเยาวชนให้มีความสามัคคีมานะอดทน เสียสละเพื่อส่วนรวม และเป็นผู้ช่วยรบได้ในยามคับขันด้านศิลปวัฒนธรรมทรงตั้งกรมมหรสพขึ้น เพื่อฟื้นฟูศิลปวัฒนธรรมไทยทรงตั้งโรงละครหลวงขึ้นเพื่อส่งเสริมการแสดงละครในหมู่ข้าราชบริพารทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ออกแบบอาคารสมัยใหม่เป็นแบบทรงไทย เช่น ตึกอักษรศาสตร์ ซึ่งเป็นอาคารเรียนหลังแรกของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และอาคารโรงเรียนวชิราวุธวิทยาลัยด้านวรรณกรรมและหนังสือพิมพ์ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติการพิมพ์ฉบับแรกขึ้น เรียกว่า พระราชบัญญัติสมุด เอกสาร และหนังสือพิมพ์ .๒๔๖๕ทรงพระราชนิพนธ์เรื่องราวต่างๆ ไว้เป็นอันมาก ทั้งในภาษาไทย และภาษาอังกฤษ ทั้งที่เป็นร้อยแก้ว และร้อยกรอง ทั้งที่เป็นสารคดี และนิยาย มีบทละครรำ ละครร้อง ละครพูด ทั้งยังได้ทรงพระราชนิพนธ์บทความพระราชทานหนังสือพิมพ์ด้วย รวมกว่า ,๐๐๐ เรื่อง เป็นมรดกทางวรรณกรรมให้ประชาชนชาวไทยได้อ่านและชื่นชมสืบทอดกันมา จึงได้รับพระสมัญญานามว่า สมเด็จพระมหาธีรราชเจ้า และ องค์การการศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ(UNESCO) ก็ได้ยกย่องพระเกียรติคุณของพระองค์เป็นปราชญ์สยามด้านการคมนาคม ทรงปรับปรุงและขยายงานกิจการรถไฟ ให้รวมกรมรถไฟซึ่งเคยแยกเป็น  กรมเข้าเป็นกรมเดียวกัน เรียกว่า กรมรถไฟหลวง เริ่มเปิดกิจการเดินรถไฟสายกรุงเทพฯ ถึงเชียงใหม่ ทรงเปิดเดินรถด่วนระหว่างประเทศ สายใต้ติดต่อกับรถไฟมลายู (มาเลเซีย)ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างสะพานพระราม  ข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาเชื่อมทางรถไฟทั้งปวงในพระราชอาณาจักรโดยโยงเข้ามาสู่ศูนย์กลางที่สถานีหัวลำโพงทรงจัดตั้งกรมอากาศยาน ได้เริ่มการขนส่งไปรษณียภัณฑ์ทางอากาศระหว่างกรุงเทพฯ ไปยังนครราชสีมาเป็นครั้ง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น